วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน

1.  แหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                หลักการค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                ในการทำงานต่างๆ เช่น นักศึกษาทำการบ้านหรือทำรายงานส่งอาจารย์  หรือพนักงานบริษัทเตรียมการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ  มักจะต้องมีการหาข้อมูลประกอบการทำงานนั้นๆ บางครั้งข้อมูลอาจเป็นเพียงข้อมูลง่ายๆ เช่น ราคาสินค้า อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น  แต่บางครั้งอาจเป็นข้อมูลเชิงลึกที่ต้องมีการวิเคราะห์ เช่น แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจโลกในช่วง 1-2 ปี ซึ่งต้องมีการพิจารณาปัจจัยต่างๆ รวมถึงเหตุการณ์ที่อาจเกิดหรือไม่เกิดในอนาคตประกอบด้วย ดังนั้นคำว่า ข้อมูลความรู้ในที่นี้  จะรวมหมายถึงตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐาน  และข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลและ/หรือจัดหมวดหมู่แล้วซึ่งเรียกว่า สารสนเทศ ตลอดจนถึงข้อมูลเชิงลึกที่มีการวิเคราะห์ซึ่งควรจะเรียกได้ว่าความรู้ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เราสามารถค้นหาได้จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ต่อไปนี้เราจะใช้คำว่าข้อมูลในความหมายกว้างที่รวมทั้งข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ด้วย
                หลักการค้นหาข้อมูลมีดังต่อไปนี้
1.ต้องมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการ คือ
1)รู้ว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องอะไร
2)รู้ว่าแหล่งข้อมูลที่มีข้อมูลนั้น น่าจะเป็นหน่วยงานใด
3)รู้ว่าสำคัญที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้น  มีอะไรบ้าง
2.ต้องรู้จักวิธีเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ
3.ต้องรู้จักวิธีใช้โปรแกรมสืบค้นข้อมูล หรือ เซิร์จเอ็นจิน (Search engine)
4.ต้องรู้จักใช้ดุลพินิจว่า
1)ข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลที่ตรงกับความต้องการหรือไม่
2)ข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้หรือไม่
การค้นหาข้อมูล
1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ และข้อมูลที่มีอยู่ในเครือข่าย
              นักศึกษาได้รู้จักคำว่า เครือข่าย และได้ทราบว่าระบบโทรศัพท์เป็นเครือข่ายสื่อสารอีกชนิดหนึ่ง คอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องที่นำมาต่อเชื่อมกันสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกันได้เป็นเครือข่ายอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์มีบทบาทในฐานะเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ เมื่อผนวกกับความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ดังตัวอย่างที่นักศึกษาได้ศึกษา เครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงกลายเป็นแหล่งข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ จึงสามารถค้นหาข้อมูลเกือบทุกอย่างที่ต้องการใช้ในการทำงานจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์
             เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้  เป็นเครือข่ายประเภทต่าง ๆ  ที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยตรง
1.1 อินทราเน็ต (Intranet) เป็นเครือข่ายภายสำหรับองค์กรหนึ่ง ๆ ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร  หรือข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์ขององค์กร  คอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับเครือข่ายอาจอยู่ภายในตึกเดียวกัน  หรือกระจายกันอยู่ทั่วประเทศหรือทั่วโลกก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรนั้นมีขนาดเล็กหรือใหญ่  มีสาขามากน้อยเพียงใด  ตัวอย่างอินทราเน็ตขนาดใหญ่ เช่น อินทราเน็ตของบริษัท โตโยต้า จำกัดซึ่งมีสาขากระจายอยู่ทั่วโลก อินทราเน็ตประเภทนี้จะทำให้บริษัทขนาดใหญ่ที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วโลก  สามารถดูแลการดำเนินธุรกิจของสาขาต่าง ๆ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
1.2เอกซ์ทราเน็ต (Extranet)  เป็นเครือข่ายภายในสำหรับองค์กรเช่นเดียวกับอินทราเน็ต  แต่เปิดให้สมาชิกภายนอกที่ได้รับอนุญาตต่อเชื่อมกับเครือข่ายได้ด้วย ตัวอย่างเครือข่ายแบบนี้ ได้แก่  เครือข่ายของบริษัท  ปูนซีเมนต์ไทย  จำกัด  ที่มีร้านค้าวัสดุก่อสร้างต่างๆ เป็นสมาชิกของเครือข่ายด้วย  เพื่อให้ร้านค้าเหล่านี้สามารถติดต่อสั่งซื้อสินค้าและรับบริการอื่นๆ  จากบริษัทโดยสื่อสารผ่านเครือข่ายนี้
                                ปัจจุบันนี้เครือข่ายเอกซ์ทราเน็ตได้ถูกนำมาใช้อย่างมากในการจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory management)  สำหรับแหล่งจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ประเภท  ห้างลดราคา (Discount Store) หรือซูปเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ที่มีสาขามาก  แหล่งจำหน่ายสินค้าประเภทนี้จะมีเครือข่ายเอกซ์ทราเน็ตซึ่งบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ขายส่งสินค้ารายใหญ่  เป็นสมาชิกของเครือข่าย  ข้อมูลสินค้าคงคลังจะเชื่อมโยนกับระบบการคิดเงินด้วยเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Barcode)  และการตัดสต๊อกโดยอัตโนมัติ  เมื่อสินค้ารายการใดลดลงถึงระบบที่จะต้องสั่งเพิ่มแล้ว ข้อมูลจะถูกส่งไปแจ้งบริษัทผู้ผลิตหรือขายส่งสินค้านั้นโดยอัตโนมัติ  บริษัทนั้นก็จะนำสินค้ามาส่งได้ทันการ  หากไม่มีระบบอัตโนมัติที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว การบริหารสินค้าคงคลังจะต้องใช้คนจำนวนมากและมีอัตราผิดพลาดสูง  ในโรงงานอุสาหกรรมขนาดใหญ่ก็เช่นเดียวกัน การสั่งซื้อชิ้นส่วนที่นำมาประกอบรถยนต์หรือเครื่องรับโทรทัศน์  ก็ใช้วิธีบริหารสินค้าคลังผ่านระบบเอ็กซ์ทราเน็ตเช่นเดียวกัน  ในบางกรณีบริหารสินค้าคงคลังสามารถทำได้ด้วยประสิทธิภาพสูงมาก  จนไม่ต้องมีคลังเก็บสินค้า(โกดัง)  สำหรับตุนชิ้นส่วนเผื่อไว้ใช้  แต่ชิ้นส่วนต่าง ๆ จะถูกส่งมาถึงโรงงานก่อนขณะที่ต้องการใช้เพียงเล็กน้อย  วิธีการบริหารการผลิตแบบนี้ เรียกว่า ระบบทำเวลาพอดี (Just-in-time system)
1.3อินเทอร์เน็ต (Internet) ทั้งอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต เป็นเครือข่ายส่วนบุคคลเนื่องจากมีเจ้าของและเจ้าของเป็นผู้กำหนดว่าใครบ้างสามารถเป็นสมาชิกของเครือข่ายได้ (Private network)  แต่อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีเจ้าของ  ทุกคนที่อยากต่อเชื่อมกับเครือข่ายสามารถต่อเชื่อมได้  เพียงแต่ปฏิบัติตามกติกาซึ่งมีคณะกรรมการอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศเป็นผู้กำหนด  อินเทอร์เน็ตจำเป็นแหล่งข้อมูลเปิดแหล่งใหญ่ที่สุดของโลกที่มีข้อมูลสารพัดชนิด  ทั้งที่มีประโยชน์ เช่น ข่าวสาร และสารความรู้ต่าง ๆ และสิ่งที่เป็นพิษและเป็นภัย เช่น ภาพลามกอนาจารและข้อมูลกรรมวิถีการผลิตอาวุธร้ายแรงหรือยาเสพติด เป็นต้น ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตบ้างส่วนให้เปล่า บ้างส่วนเสียค่าสมาชิกถึงจะเข้าได้  นอกจากนี้อินเทอร์เน็ตปัจจุบันยังเป็นแหล่งซื้อขายสินและบริการ  ซึ่งมีทั้งขายปลีกขายส่งและการประมูล การค้าขายผ่านอินเทอร์เน็ตนั้น เรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1.4รูปแบบของข้อมูลในเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวแล้ว เป็นเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ต่างกัน  ดังนั้น  รูปแบบของการนำเสนอของข้อมูลและการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจึงอาจแตกต่างกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต ซึ่งผู้ใช้บริการเป็นสมาชิกในวงปิดอาจใช้รูปแบบและวิธีการของตัวเอง แต่ในกรณีเป็นเครือข่ายสาธารณะจะต้องใช้รูปแบบและวิธีการที่เป็นมาตรฐานสากล สำหรับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตปัจจุบัน  รูปแบบการนำเสนอข้อมูลและวิธีการเปลี่ยนข้อมูลที่แพร่หลายมากจนกลายเป็นมาตรฐานไปแล้วคือรูปของ WWW ซึ่งมีอิทธิพลสูงมาก ทำให้เครือข่ายเกือบทุกประเภทเปลี่ยนมาใช้ตามเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากผู้ใช้มีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีแล้ว
2. การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต 
                ใช้วิธีการที่เรียกว่า เซิร์จเอ็นจิน (Search engine) ซึ่งเป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลอัตโนมัติ การค้นหาทำได้โดยการพิมพ์ คำสำคัญ หรือ คีย์เวิร์ด (Key Word)  เข้าไปในช่องที่กำหนด แล้วคลิกที่ปุ่ม SEARCH หรือ GO โปรแกรมค้นหาจะเริ่มทำงาน การแสดงผลการค้นหาจะแสดงชื่อเว็บไซต์ URL  และมักจะแสดงสาระสังเขปของเว็บไซต์นั้นๆ ด้วย  เพื่อช่วยให้ผู้คนหาสามารถตัดสินใจในเบื้องต้นว่าเว็บไซต์นั้นมีข้อมูลที่ต้องการหรือไม่ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลจำเป็นจำนวนมาก บางครั้งเซิร์จเอ็นจิน จะพบข้อมูลข้อมูลนับพันนับหมื่นรายการ ซึ่งทำให้เสียเวลากลั่นกรองหาข้อมูลที่ต้องการจริงๆ เซิร์จเอ็นจิน บางตัวจะมีระบบค้นหาที่ละเอียดขึ้น เรียกว่า แอดวานซ์เชิร์จ(Advanced search หรือ Refined search) โดยให้ผู้ค้นหาสามารถระบุเงื่อนไขได้ เช่น หากจะค้นหาโดย ใช่คีย์เวิร์ด “e-commerce” อาจจะค้นพบเป็นหมื่นรายการ แต่ถ้าคีย์เวิร์ด “e-commerce in Thailand” อาจค้นพบเป็นร้อย และถ้าใช้คีย์เวิร์ด “e-commerce in Thailand AND NOT handicraft”ก็อาจค้นพบน้อยลงเหลือไม่กี่รายก็เป็นได้ วิถีการดังกล่าว  เรียกว่าการ การกรอง(Filter) ซึ่งอาศัยการตั้งเงื่อนไขเชื่อมโยงกันด้วยคำที่เป็น Boolean Operators ได้แก่คำว่า AND,OR,NOT ทำให้มีผลเท่ากับการเลือกเงื่อนไขแบบใช่ทั้งหมด ใช้บางส่วนหรือไม่ใช้บางเงื่อนไข วิธีจะพบโปรแกรมค้นหาส่วนมาก ผู้แต่งใช้โปรแกรมค้นหาหลายโปรแกรมอาจสับสน เพราะแต่ละโปรแกรมจะมีวิธีการกำหนดการกำหนดให้พิมพ์เงื่อนไขต่างกัน เช่น บางโปรแกรมให้ใช้เครื่องหมายบวก(+) แทน AND แต่บางโปรแกรมอาจใช้เครื่องหมายเดียวกันแทน OR เป็นต้น ผู้ใช้จึงต้องศึกษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแต่ละโปรแกรม
โปรแกรมค้นหาที่นิยมใช้กันมาก เพราะเพาะมีความสามรถสูงนั้น มีอยู่ตามเว็บไซต์ต่อไปนี้
http://www.google.com
http://www.altavista.com
http://www.excite.com
http://www.yahoo.com  เป็นต้น
           สำหรับโปรแกรมค้นหาภาษาไทยนั้นเริ่มมีใช่บางแล้ว แต่ประสิทธิภาพยังไม่สูงนักเนื่องจากความลำบากในการแยกคำในภาษาไทย ซึ่งเขียนต่อกันโดยไมมีการเว้นวรรคคั่น เป็นคำๆ แบบภาษาอังกฤษ และอีกประการหนึ่ง เนื่องจากข้อมูลทางภาษาไทยบนเว็บไซต์ยังมีจำนวนน้อย เซิร์จเอ็นจิน ภาษาไทยมีอยู่ในเว็บไซต์ต่อไปนี้
http://www.google.co.th/
http://www.siamguru.com
http://www.hotsearch.bdg.co.th  เป็นต้น
3. คำแนะนำในการใช้  Google
3.1 การค้นหาแบบง่าย ให้พิมพ์คำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการ้นหาเพียง 2-3 คำลงไป แล้วกดแป้น Enter หรือคลิกที่ปุ่ม Go บนหน้าจอ Google ก็จะแสดงเว็บเพจที่ค้นพบ โปรแกรมค้นหาของ Google จะแสดงเฉพาะเว็บเพจที่มีคำทุกคำที่ท่านได้พิมพ์ลงไปดังนั้น  ถ้ายิ่งใส่จำนวนคำลงไปมาก  จำนวนเว็บเพจที่ค้นพบจะยิ่งลดจำนวนลง  เพราะเป็นการค้นหาที่มีเงื่อนไขมากขึ้นนั้นเอง
3.2  ข้อควรทราบเกี่ยวกับหลักการทำงานของ Google เพื่อการค้นหาชั้นสูง
1. อักษรภาษาอังกฤษตัวเล็กตัวใหญ่มีผลไม่ต่างกัน โดย Google จะถือว่าอักษรตัวเล็ก (Lower case) ทั้งหมด
2. คำว่า and มีอยู่แล้วโดยปริยาย เฉพาะ Google จะหาเฉพาะเว็บเพจที่มีคำครบทุกคำ จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ and เพื่อเชื่อมระหว่างคำหลัก แต่ลำดับก่อนหลังของคำหลักจะให้ผลที่แตกต่างกัน
3. คำสามัญประเภท a, an, the, where, how  จะถูกตัดทิ้งโดยอัตโนมัติ รวมทั้งตัวอักขระโดดๆ  เพราะคำพวกนี้ทำให้การค้นหาช้าลง และไม่ช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นแต่อย่างใด  ในกรณีที่ต้องการให้ใช้คำสามัญคำใดในการค้นหาด้วย จะต้องนำหน้าคำนั้นด้วยเครื่องหมายบวก ( + ) เช่น “Standard and Poor” ในกรณีหลังนี้ โปรแกรมค้นหาจะค้นหาตามวลีทีอยู่ภายในเครื่องหมายคำพูด
4. การกำหนดเงื่อนไขไม่ใช่คำบางคำในการค้นหา  โดยนำหน้าคำนั้นด้วยเครื่องหมายลบ ( - ) เช่น ต้องการหาเว็บเพจที่เกี่ยวกับ e-Commerce Thailand – handicraft
5. การกำหนดให้ใช้คำที่มีความหมายคล้ายกัน (Synonym) ด้วย ให้นำหน้าคำนั้นด้วยเครื่องหมาย tilde
6. การเลือกคำหลักมีข้อแนะนำดังต่อไปนี้
- ลองใช้คำตรงๆ ก่อน เช่น ถ้าท่านต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับ Picasso ก็ให้ใส่คำว่า Picasso ลงไป
- แทนที่จะใช้คำว่า painters
- ใช้คำที่คิดว่าน่าจะมีอยู่ในเว็บไซต์ที่ต้องการหา เช่น Jumbo Jet ในเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องบินโดยสาร เป็นต้น
- ทำให้คำหลักมีความเจาะจงมากที่สุดที่จะเป็นไปได้เช่น Antiquelead soldier จะดีกว่า old metal toys
7. รูปคำต่างกันที่มากจากรากศัพท์เดียวกันจะได้รับพิจารณาโดยอัตโนมัติ เช่น diet กับ dietary
8. การค้นหาตามหมวดสาขา ( Category )  ในกรณีที่คำหลักมีความหมายได้หลายอย่าง และท่านไม่แน่จ่าจะทำให้เจาะจงอย่างไร ให้เข้าไปที่ Directory ของ Google ซึ่งอยู่ที่ directory แต่ถ้าท่านต้องการข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ยี่ห้อ Saturn ท่านจะใช้คำหลักเดียวกันนี้ค้นภายใต้ Automotive category
9. Google มีหน้าเว็บพิเศษสำหรับช่วยให้สามารถทำการค้นหาชั้นสูงได้ง่ายขึ้นโดยผู้ใช้ไม่ต้องจดจำวิธีการพิมพ์เงื่อนไขแต่ใช้วิธีเลือกพิมพ์ข้อความลงไปในช่องที่เหมาะสมแทน ซึ่งสามารถค้นหาเป็นภาษาไทยได้
4. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)  
          เป็นการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากแบบหนึ่ง แต่มีข้อจำกัดตรงที่ทั้งผู้ส่งและผู้รับต้องมีอีเมลแอดเดรส (email address) หลักการเช่นเดียวกับการส่งจดหมายทางไปรษณีย์ กล่าวคือผู้ส่งใช้โปรแกรมรับส่งอีเมล เช่น ไมโครซอฟต์เอาต์ลุก (Microsoft Outlook) หรือโปรแกรมเว็บเมล (Wed mail)  เป็นต้น โปรแกรมไมโครซอฟต์เอาต์ลุกปกติจะมากับชุดโปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศ ใช้สำหรับรับส่งอีเมลได้ทุกกรณี แต่ต้องมีการติดตั้ง (Set-up) ก่อนใช้จึงเป็นการไม่สะดวกนักหากผู้ใช้ต้องการจะไปรับส่งอีเมลที่เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นนอกจากเครื่องที่ตนใช้เป็นประจำ  วิธีการรับส่งแบบเว็บเมลเป็นวิธีที่สะดวกกว่า  เพียงแต่ผู้ใช้เข้าสู่อินเตอร์เน็ต แล้วเข้าสู่เว็บไซต์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย (Host)  ของอีเมลแอดเดรสที่ตนใช้อยู่ และเลือกคลิกที่ปุ่ม e-mail หรือ Mail  โปรแกรมเว็บเมลซึ่งติดตั้งอยู่ในเครื่องนั้นก็พร้อมที่จะทำงานทันที
      การส่งอีเมลทำได้โดยผู้ใช้อีเมลพิมพ์ชื่อและอีเมลแอดเดรสของผู้รับ  พิมพ์ข้อความลงในกรอบที่กำหนด และหากมีการส่งเอกสารที่จะแนบไปด้วยก็ระบุชื่อไฟล์ของเอกสารที่ต้องการแนบ เสร็จแล้วคลิกปุ่มส่ง (Send) จดหมายฉบับนั้นก็จะไปรออยู่ที่ ตู้รับจดหมาย ของคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ผู้รับมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้ให้บริการ  เมื่อใดทีผู้รับเข้าสู่โปรแกรมรับส่งอีเมล  จดหมายฉบับนั้นก็พร้อมที่จะถูกเปิดขึ้นมาให้อ่านได้ทันที  หากผู้ใช้ไม่อยู่ที่สำนักงานจดหมายก็จะรออยู่ไม่ตกหล่นหรือหายไปไหน ดังนั้น  วิธีนี้เป็นการสื่อสารที่ส่งไปถึงผู้รับทันที  แต่ผู้รับจะได้รับเมื่อใดขึ้นอยู่ที่ว่ารับจะเปิดคอมพิวเตอร์เข้าไปรับแอดเมื่อใด
    ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้สามารถใช้ส่งจดหมายฉบับเดียวกันถึงผู้รับหลายๆ  คนก็ได้และโปรแกรมรับส่งส่วนมากจะอนุญาตให้ผู้ใช้จักทำรายชื่อกลุ่มผู้รับ (Group mailing list) เช่น อาจตั้งชื่อกลุ่มว่า Members in Bangkok  ประกอบด้วยผู้รับ 35 ราย Members in the North อีก 25 ราย Members in the South อีก 20 ราย เป็นต้น  เมื่อจัดทำรายชื่อผู้รับ(อีเมลแอดเดรส) ในแต่กลุ่มเรียบร้อยแล้ว จะทำการส่งถึงกลุ่มใด ก็เพียงแต่ระบุชื่อชื่อกลุ่มเท่านั้นไม่ต้องป้อนอีเมลแอดเดรสของผู้รับแต่ละราย ซึ่งทำให้สะดวกและประหยัดเวลาได้มาก
5. กระดาษข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (Web forum)  
       เป็นการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คล้ายกับการเขียนข้อความไว้บนกระดาน เพื่อให้กลุ่มคนที่ต้องการจะสื่อสารกันมาอ่านและเขียนโต้ตอบกันได้  แต่กระดานในที่นี้เป็นกระดานอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แต่ละราย ปัจจุบันนี้  เว็บไซต์บางแห่งจัดตั้งเป็นเวทีแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ แยกเป็นแต่ละกระดานสำหรับแต่ละเรื่อง  เช่น  กรณีเว็บไซต์ www.pantip.com  เป็นต้น  นอกจากนั้น เว็บไซต์บางแห่งอนุญาตให้มีการจัดตั้ง ชุมชน สำหรับกลุ่มคนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกันใช้สื่อสารกันด้วยจดหมาย  เอกสาร  รูปภาพ  ฯลฯ นักศึกษาสามารถเข้าไปดูตัวอย่างกิจกรรมประเภทนี้ได้ที่ http://groups.msn.com/
6. ห้องสมุด แหล่งข้อมูลความรู้
    นับตั้งแต่มีการพิมพ์หนังสือเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 อารยธรรมของมนุษย์มีการบันทึกเพื่อถ่ายทอดแก่อนุชนรุ่นหลังอย่างเป็นระบบ การแต่งหนังสือและการพิมพ์เผยแพร่เป็นจำนวนครั้งละมากๆ ทำให้        การเรียนรู้สามารถขยายขอบเขตออกไปอย่างรวดเร็ว ยิ่งกว่านั้นหนังสือยังเป็นสื่อที่สามารถอนุรักษ์ความรู้ไว้ได้เป็นเวลายาวนานมากกว่าความยืนยาวของชีวิตมนุษย์หลายสิบเท่า ห้องสมุดซึ่งเป็นที่เก็บรักษาหนังสือ จึงมีการจัดการที่เป็นระบบ ทำให้ค้นหาหนังสือที่ต้องการได้ง่าย จึงเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก
           วิธีการที่ใช้กันในห้องสมุดต่างๆ ทั่วโลกนั้น เรียกว่าการจัดทำบัตรรายการ และการกำหนดหมู่เลขรหัส สำหรับหนังสือแต่ละเล่มหรือเอกสารแต่ละชิ้น
     การกำหนดหมู่เลขรหัสที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมีสองระบบ ระบบแรกเรียกว่า ระบบดิวอี้ (Dewy Decimal System) นิยมใช้กันตามสถาบันการศึกษา ส่วนระบบที่สองเป็นระบบใหม่กว่า เรียกว่า ระบบแอลซี (Library of congress System) เป็นระบบที่คิดขึ้นมาใช้สำหรับห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐซึ่งเป็นห้องสมุดที่มีจำนวนหนังสือและเอกสารมากที่สุดในโลก เหตุที่ต้องคิดหาระบบใหม่ขึ้นมาใช้นั้น ว่ากันว่าเพราะระบบดิวอี้ดั้งเดิมมีความละเอียดไม่พอ ไม่สามารถแยกประเภทของหนังสือบางประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ดีพอ อย่างไรก็ตาม ระบบดิวอี้ได้มีการพัฒนาขึ้นในเวลาต่อมา จนในปัจจุบันนี้ได้รับความนิยมไม่แพ้ระบบแอลซี
    บัตรรายการสำหรับหนังสือแต่ละเล่มหรือเอกสารแต่ละชิ้นนั้น จะระบุหมู่เลขรหัส ชื่อหัวเรื่อง (ชื่อหนังสือหรือเอกสาร) ชื่อผู้แต่ง ชื่อสำนักพิมพ์ ปี ค.ศ. หรือ พ.ศ. ที่พิมพ์และชื่อเมืองที่พิมพ์ และมักจะมีสาระสังเขปเป็นคำอธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับเนื้อหาที่บรรจุด้วย นอกจากนี้จะมีข้อความหรือรหัสที่ระบุว่าหนังสือหรือเอกสารนั้นๆ ถูกจัดเก็บอยู่ที่บริเวณใดในห้องสมุดนั้นบัตรรายการต่างๆ จะถูกนำมาเรียงลำดับอักษรตามชื่อหัวเรื่องชุดหนึ่งแยกไว้ในตู้บัตรรายการคนละตู้กัน ส่วนหนังสือและเอกสารต่างๆ จะถูกจัดเก็บบนชั้นหนังสือโดยเรียงลำดับตามหมู่เลขรหัส

 การค้นหาหนังสือที่ต้องการเริ่มจากการค้นหาบัตรรายการก่อน โดยอาจค้นตามชื่อหัวเรื่องหรือค้นตามชื่อผู้แต่งก็ได้ แล้วอ่านดูสาระสังเขปว่าใกล้เคียงกับสิ่งที่ต้องการหรือไม่ หากเห็นว่าใกล้เคียงก็จดหมู่เลขรหัส และบริเวณที่จัดเก็บไว้ เพื่อไปหาหนังสือหรือเอกสารนั้นบนชั้นต่อไป
                ปัจจุบันนี้ได้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย โดยการบันทึกข้อมูลบัตรรายการทั้งหมดลงในฐานข้อมูล และใช้โปรแกรมพิเศษเพื่อเรียกข้อมูลออกมาแสดงผล โปรแกรมดังกล่าวช่วยให้กาค้นหาหนังสือหรือเอกสารทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นโดยการเชื่อมโยงผ่าน คำสำคัญ (Key Word) ที่ปรากฏอยู่ในชื่อหัวเรื่องหรือสาระสังเขป เพียงแต่ผู้ค้นหาพิมพ์คำสำคัญลงไปในช่องที่กำหนด โปรแกรมแสดงผลก็นะจำข้อมูลตามบัตรรายการของหนังสือทุกเล่มที่เกี่ยวข้องออกมาแสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์
                อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา หนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ที่มีออกมาเผยแพร่นั้น ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมีผู้ขนานนามว่าเป็นการระเบิดของข้อมูลข่าวสาร (Information Explosion) ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการจัดเก็บและการค้นหา แม้จะมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยแล้วก็ตาม
7. Digital Library ห้องสมุดบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                Digital Library (ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์) หมายถึงการจัดเก็บสารสนเทศในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อพิมพ์ ขณะนี้ได้เริ่มมีการใช้วิธีการเช่นนี้แล้ว แต่คงต้องรออีกนานทีเดียวกว่าที่ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถแทนที่ห้องสมุดแบบดั้งเดิม หรือแม้แต่เพียงจะสามารถมีบทบาทเทียบเคียงกับห้องสมุดแบบดั้งเดิม  ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีเหตุผลหลายประการ ประการแรก สิ่งพิมพ์ที่มีอยู่แล้วมีเป็นจำนวนมาก หากจะนำมาดิจิไทซ์ (digitize) หรือแปลงเป็นสารสนเทศแบบดิจิทัล ก็ต้องลงทุนลงแรงมหาศาลประการที่สอง ผู้ใช้สารสนเทศส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบัน ยังคุ้นเคยกับการอ่านหนังสือมากกว่าการอ่านจากจอคอมพิวเตอร์ แต่เรื่องนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อคนรุ่นใหม่ที่คุ้นเคยกับการใช้คอมพิวเตอร์มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และพัฒนาการของจอคอมพิวเตอร์ทำให้อ่านได้สบายตามากขึ้น สามารถอ่านได้ครั้งละนานๆ มากขึ้น ประการที่สาม ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ และวิธีการจัดการกับปัญหานี้ ในกรณีที่ต้องการแปลงสิ่งพิมพ์ที่มีอยู่เป็นสารสนเทศแบบดิจิทัลเพื่อนำออกเผยแพร่ ยังไม่มีกฎหมายหรือหลักการที่เป็นสากลว่าด้วยเรื่องนี้ หากยังต้องอาศัยการตกลงกันเองระหว่างคู่กรณีเป็นรายๆ ไป ก็จะเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวง อย่างไรก็ตามการแปลงสิ่งพิมพ์เป็นสารสนเทศดิจิทัลนั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ เพื่อการอนุรักษ์สิ่งพิมพ์เก่าๆไว้เอกสารที่เป็นกระดาษนั้น หากจัดเก็บถูกวิธีอาจสามารถอยู่ได้นับพันปี เช่น เอกสารที่ทำด้วยกระดาษปาปิรัสสมัยอียิปต์หรือบาลิโลเนียยังมีหลงเหลือให้เห็นได้ตามพิพิธภัณฑ์ใหญ่ๆ ของโลก แต่ในความเป็นจริงแล้ว หนังสือหรือเอกสารที่เป็นกระดาษจะมีอายุใช้งานเพียง 100 -200 ปีเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น หนังสือเรื่อง The Pilgrim Kamanita ซึ่งเป็นต้นฉบับภาษาอังกฤษที่เสถียรโกศ และนาคประทีป นำมาแปลและเรียบเรียงเป็นฉบับภาษาไทยชื่อ กามนิต วาสิฏฐีนั้น ขณะนี้เหลืออยู่ที่ The British Museum ที่กรุงลอนดอนเพียงเล่มเดียวเท่านั้น และอยู่ในสภาพถูกเก็บตาย เพราะกระดาษกรอบหมดแล้ว นำมาเปิดอ่านไม่ได้ เอกสารทำนองนี้ยังมีอีกเป็นจำนวนมาก และต้องหาวิธีอนุรักษ์ไว้ให้ได้เพราะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าและบางอย่างเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ วิธีอนุรักษ์วิธีหนึ่งคือการนำมากราดตรวจหรือถ่ายภาพหน้าต่อหน้า แล้วบันทึกใส่ซีดีรอม (CD-ROM) ไว้ อย่างไรก็ตามซีดีรอมเองก็ไม่ได้มีอายุยืนยาวมากมายนัก เชื่อกันว่าสามารถจะเก็บได้นาน 30 50 ปี เท่านั้น แต่ถ้ามีการทำสำเนาก่อนที่ซีดีรอมแผ่นนั้นจะหมดอายุ ก็สามารถเก็บไปได้ตลอด เพราะการทำสำเนาข้อมูลดิจิทัลนั้นจะได้สำเนาที่มีคุณภาพเท่าต้นฉบับดิจิทัล ไม่มีการเสื่อมลงทุกครั้งที่ทำสำเนาเหมือนระบบแอนะล็อก ดังนั้น ห้องสมุดดิจิทัลจะสามารถให้บริการเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่มีอายุมากๆได้
                รูปแบบของเอกสารที่จัดเก็บและให้บริการในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์นั้น ขณะนี้ยังถือว่าอยู่ในช่วงต้นของการพัฒนา ซึ่งจะยังมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ แม้ว่าจะเริ่มมีการวางมาตรฐานกันบ้างแล้วก็ตาม รูปแบบที่ได้รับการกล่าวขานกันมากที่สุดขณะนี้คือ อีบุ๊ค (E-book) หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กับ อีเจอร์นัล (E-journal) หรือวารสารอิเล็กทรอนิกส์ และอีแมกกาซีน (E-magazine) หรือนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ ความได้เปรียบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้เหนือสื่อสิ่งพิมพ์หลายประการ ประการแรก ต้นทุนในการจัดทำต่ำกว่า  ประการที่สอง สามารถใช้สื่อประสม (Multimedia) มาประกอบได้ คือมีได้ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว (ทั้งที่เป็นรูปวาด รูปถ่าย และวีดิทัศน์) และเสียงด้วย ประการที่สาม สามารถมี การเชื่อมโยงข้อความหลายมิติ (Hypertext) เพื่ออธิบายขยายความ หรือเพื่อขยายขนาดของภาพประกอบให้ใหญ่ขึ้นหรือชัดเจนขึ้น ประการที่สี่ สามารถค้นหารายละเอียดคำสำคัญต่างๆโดยใช้วิธีการของ โปรแกรมค้นหา ( Search engine) ซึ่งรวดเร็วทันใจ และมีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบดัชนี (Index) ของหนังสือ ส่วนข้อเสียเปรียบที่สำคัญคือ ต้องใช้คอมพิวเตอร์และใช้ไฟฟ้าในการเปิดอ่าน
                ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ต่างกับห้องธรรมดา ตรงที่ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ไม่จำเป็นต้องมีอาคารสถานที่ เพียงแต่มี คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Sever) สำหรับเก็บข้อมูล และมีเครือข่าย (Network) ต่อเชื่อมไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Clients) ที่ให้บริการ ซึ่งอาจกระจายอยู่ตราที่ต่างๆ ก็ได้ เครือข่ายนั้นจะเป็นเครือข่ายส่วนตัว (Private Network หรือ Intranet) ที่ใช้ภายในองค์กรก็ได้ หรือจะเป็นเครือข่ายสาธารณะ เช่น อินเทอร์เน็ต

 ในต่างประเทศส่วนใหญ่ ห้องสมุดสาธารณะเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไป ทุกท้องที่ระดับอำเภอซึ่งมีประชากรตั้งแต่ 10,000 คนขั้นไป จะมีห้องสมุดสาธารณะขององค์การปกครองท้องถิ่น แต่ในประเทศไทยห้องสมุดเช่นนี้จะมีตามเมืองใหญ่ๆ ที่มีเทศบาลเมืองเป็นผู้รับผิดชอบเท่านั้น การใช้ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์แทนห้องสมุดธรรมดาจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้เราสามารถกระจายบริการห้องสมุดสาธารณะออกไปให้ทั่วถึงทุกอำเภอได้โดยลงทุนไม่มากนัก เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนได้เป็นอย่างดี
8. แหล่งข้อมูลของประเทศไทยบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ติดตั้งอยู่ทั่วโลกเชื่อมโยงกันจำนวนมากเครื่องแม่ข่ายแต่ละเครื่องมีข้อมูลข่าวสารบางอย่างบางประเภทบรรจุอยู่ เช่น ถ้าเป็นเครื่องแม่ข่ายของบริษัทผลิตรถยนต์ ก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์รุ่นต่างๆ ของบริษัทนั้นข้อมูลเกี่ยวกับการรับบริการต่างๆ จากบริษัท และอาจมีข้อมูลประเภทความรู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของยานยนต์ เทคโนโลยีใหม่ๆ เกี่ยวกับยานยนต์ มลพิษจากไอเสียของรถยนต์และวิธีบำบัดป้องกัน วิธีการขับรถยนต์อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น หากเป็นเครื่องแม่ข่ายของบริษัทของบริษัทท่องเที่ยว ก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทาง ข้อมูลเกี่ยวกับการขออนุญาตเข้าประเทศต่างๆ เพื่อการท่องเที่ยว ตลอดจนเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมและภาษาของประเทศนั้นๆ เป็นต้น ปัจจุบันนี้ ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้อยู่ในรูปแบบของเอกสารที่มีการเชื่องโยงกันภายใต้มาตรฐาน World Wide Web (หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า http Hypertext Transfer Protocol) เราเรียกแหล่งข้อมูลแต่ละแห่งเหล่านี้ว่า เป็น เว็บไซต์ (Web Site) ซึ่งแปลว่าแหล่งข้อมูลในระบบ World Wide Web นั่นเอง
                ประเทศไทยเราก็ได้มีการจัดตั้งเว็บไซต์ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งของภาครัฐและของภาคเอกชน ในที่นี้จะได้กล่าวถึงเว็บไซต์ที่คิดว่าจะมีประโยชน์สำหรับนักศึกษา โดยจะแยกกล่าวเป็นแต่ละประเภทของข้อมูลหลักในเว็บไซต์นั้นๆ
·  เว็บไซต์ประเภท Portal หรือ Gateway หรือชุมทาง ที่กล่าวถึงเว็บไซต์ประเภทนี้เป็นประเภทแรก เพราะเป็นประเภทที่มีประโยชน์มาก เวลาที่เราไม่แน่ใจว่าจะหาข้อมูลประเภทที่ต้องการได้จากแหล่งใด หากเราเข้าไปที่เว็บไซต์ประเภทนี้ จะพบว่าในเว็บไซต์ได้ทำจุดเชื่อโยงไปยังเว็บไซต์อื่นโดยจัดแบ่งเป็นประเภทไว้ ทำให้เราสามารถหาแหล่งข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายขึ้น คล้ายกับการค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ในสมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองนั่นเอง เว็บไซต์ชุมทางที่สำคัญในประเทศไทยคือ http://www.nectec.or.th จัดทำโดย
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นเว็บไซต์แห่งแรกของประเทศไทยและเป็นตัวอย่างที่ดีของการจัดทำเว็บไซต์ แม้ว่าในปัจจุบันนี้ เว็บไซต์แห่งนี้จะมีข้อมูลมากเกินไปและการจัดระบบข้อมูลเริ่มจะไม่รองรับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้การค้นหายากขึ้น อย่างไรก็ตาม เราก็ยังถือได้ว่า เว็บไซต์แห่งนี้เป็นเว็บไซต์ชุมทางสำหรับข้อมูลที่เกี่ยวกับประเทศไทยที่ดี
·เว็บไซต์ประเภทของการศึกษา เว็บไซต์การศึกษาในประเทศไทยมีจำนวนมากทั้งของสถานบันอุดมศึกษาและของโรงเรียนต่างๆ เว็บไซต์ที่อาจถือได้ว่าเป็นเว็บไซต์ชุมทางประเภทการศึกษา ได้แก่
1.  เว็บไซต์โครงการ SchoolInet@1509 (http://www.school.net.th) เป็นเว็บไซต์ชุมทางสำหรับเว็บไซต์ต่างๆที่เป็นสมาชิกโครงการ SchoolINet และที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา
2.   เว็บไซต์ LearnOnline (http://www.learn.in.th) ของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย (Thailand Graduate Institute of Science and Technology TGIST) เป็นเว็บไซต์สำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เน้นสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทุกระดับการศึกษา และมีทำเนียบเชื่อมโยงไปสู่เว็บไซต์อื่นที่ให้บริการในลักษณะเดียวกัน
 ·เว็บไซต์ประเภทศิลปวัฒนธรรม เว็บไซต์วัฒนธรรมไทย http://www.culture.go.th ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จัดว่าเป็นเว็บไซต์หลักในเว็บไซต์ประเภทนี้ นอกจากนี้ ข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมมักจะมีปรากฏอยู่บ้างตามเว็บไซต์ของสถานบันอุดมศึกษาต่างๆ และของภาคเอกชนที่เกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว

· เว็บไซต์ประเภทท้องถิ่น เว็บไซต์ประเภทนี้กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วเว็บไซต์ชุมทางของประเภทนี้ ได้แก่ http://www.thaitambon.com ซึ่งเป็นที่รวบรวมเว็บไซต์ของตำบลต่างๆ ทั่วประเทศไทย เพื่อสนับสนุนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์นอกจากนี้จังหวัดใหญ่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวก็มักจะมีเว็บไซต์ของจังหวัด และสถานบันการศึกษาทั้งระดับอุดมศึกษาและระดับโรงเรียนก็มักจะบรรจุข้อมูลเกี่ยวกับท้องถิ่นไว้ในเว็บไซต์ของสถานบันด้วย
 ·         เว็บไซต์ประเภทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เว็บไซต์ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. (http://www.nstda.or.th) เป็นเว็บไซต์หลักสำหรับสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น เว็บไซต์ของศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติทั้งสามได้แก่ http://www.nectec.or.th http://www.mtec.or.th http://www.biotec.or.th และ เว็บไซต์ของหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 ·         เว็บไซต์ประเภทพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) หมายถึง การทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการค้าขายผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ขณะนี้การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วทั่วโลก ทั้งการค้าปลีกหรือค้าส่ง การซื้อขายสินค้าหรือบริการ ในยุคโลกาภิวัตน์นี้ ทำให้ประเทศไทยสามารถค้าขาขายกับต่างประเทศได้ถึงในระดับผู้ค้าปลีก ทั้งนี้เราต้องพยายามเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คนไทยจะต้องเรียนให้รู้และทำให้เป็น เว็บไซต์ http://www.ecommerce.or.th ของศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นับว่าเป็นเว็บไซต์ทางการที่มีหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นับว่าเป็นเว็บไซต์ทางการที่มีหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
                สามารถหาดูได้จากเว็บไซต์บางแห่งของภาครัฐและภาคเอกชนเช่น http://www.moc .go.th ของกระทรวงพาณิชย์ และ http://www.depthai.go.th ของกรมส่งเสริมการส่งออก ส่วน http://www.thaitrad epoint.com เป็นอีกเว็บไซต์หนึ่งที่น่าสนใจ เพราะมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยให้มีโอกาสเข้าสู่พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย